top of page

คำถามที่พบกันบ่อยๆเกี่ยวกับเรื่องการเงิน

 

หลากหลายคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการเงินและการวางแผน เรามีคำตอบให้คุณที่นี่

01

02

03

04

05

ทำไมเรื่องเงินๆทองๆจึงเป็นเรื่องสำคัญ?

ทันทีที่เด็กรู้จัก การบวก ลบ เลขเป็น ผู้ปกครองต้องรีบสอนเรื่องการเงินแบบง่าย ๆ ให้เด็กได้ทันที ไม่ต้องรอให้โตเป็นผู้ใหญ่ สอนให้เค้ารู้จัก การออมเงิน คุณค่าของเงิน การประหยัดมัธยัสถ์ ตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เป็นนิสัย อย่างรอให้โตเป็นวัยรุ่นก่อนแล้วค่อยสอน เพราะอาจจะไม่ทันกับพฤติกรรมการใช้เงินของเด็ก และการยากในการอบรมสอนเรื่องพวกนี้ในวันข้างหน้า



 

ทำไมเราต้องวางแผนภาษี?

คนโดยทั่วไปมักจะมีวิธีลดหย่อนภาษีอย่างชอบธรรม และวิธีการส่วนใหญ่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การซื้อประกัน การซื้อกองทุนต่าง   ๆ  เพื่อไปลดหย่อนภาษี หรือแม้แต่บริษัทองค์กรใหญ่ ๆ ก็มักจะนำเงินบางส่วนออกมาช่วยบริจาคตามองค์กรการกุศลเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ได้บอกว่าผิด แต่เป็นกระบวนการที่ถูกต้องในการลดการจ่ายภาษีเท่านั้นเอง คนไทยไม่รู้ มักจะไม่เข้าใจ และไม่เคยหาคำตอบว่าทำไม ต้องจ่ายภาษีแพง ๆ ทุกปี


 

พัฒนาการการให้ความรู้ด้านการเงินของประเทศไทย?

ระบบการสอนเรื่องการเงิน การออม ของการศึกษาไทย นั้น ไม่มีและยังไม่มีวี่แวว จะถูกบรรจุเข้าไว้ในระบบการศึกษาไทยเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับเด็กไทย และอนาคตของเยาวชนไทยด้วยซ้ำ !! น่าเศร้าตรงที่ เด็กไทยที่ผ่าน ๆ มาต้องโตขึ้นมา โดยเรียนรู้เรื่องการเงินเอาเองตอนเป็นผู้ใหญ่ และบางครั้งก็ไม่ทันกับสถานการณ์ เพราะบางคนเป็นหนี้หัวโต การเงินติดลบตัวแดง แทบล้มละลาย ไม่สามารถทำอะไรต่อไปได้ เพราะเพิ่งจะมาเข้าใจตอนเป็นผู้ใหญ่ และต้องใช้เวลาในการจัดการหนี้สินให้จบ  ทำไมการศึกษาไทยบ้านเราไม่บรรจุสิ่งเหล่านี้ไปไว้ในบทเรียนเพื่อสอนให้เด็ก ๆ ของเรา เติบโตขึ้นมาพร้อมกับความรู้ทางการเงิน ไม่ใช่แค่เรียนเพียงบัญชี อย่างเดียว !!! 


 

ความมั่งคั่งทางการเงินคืออะไร?

ความมั่งคั่ง ควรมีก่อน ความมั่นคง ... โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนไทย ชอบที่จะมีความมั่นคงก่อน ความมั่งคั่ง นิสัยคนไทยเราชอบอะไรที่สะดวก สบาย จ่ายเงินซื้อความมั่นคงให้ตัวเองก่อนเพราะคิดว่านี้คือรางวัลของการทำงานหนัก เช่น ซื้อบ้าน มือถือใหม่ ๆ รถหรู ๆ  ซื้อสิ่งของแพง ๆ หรือแม้แต่เลือกที่จะผ่อนจ่ายสบายๆ ไม่มีดอกเบี้ย เพื่อให้ตัวเองครอบครอง สมบัติ สิ่งของ ที่บางครั้งไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง ... ไม่ได้บอกว่าผิดถ้ารู้จักการบริหารเงินเป็น แต่บางคนเลือกที่จะไม่ ออมเงินไว้ก่อน เพื่อความสร้างมั่งคั่ง แล้วควรจะมีอิสระในการซื้อ ความมั่นคงทีหลัง ....


 

เราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาเลือกสถาบันการเงิน?

สถาบันการเงินทั้งหลายของไทยเรา  มักจะมีเงื่อนไขที่เอาเปรียบเสมอกับลูกค้า โดยกำหนดสัญญาค่อนข้างเอาแต่ได้ไปหน่อยทำให้ ลูกค้าที่ใช้บริการซึ่งไม่เข้าใจ " ภาษาการเงิน"  ที่ระบุไว้ในสัญญาค่อนข้างเสียเปรียบ... ทำให้เวลามีปัญหา มักจะตกเป็นรองเสมอกับ  ดังนั้น ก่อนทำสัญญาซื้อขาย ขอสินเชื่อ ซื้อประกัน หรือทำสัญญาจำนอง แม้แต่ทำบัตรเครดิตกับสถาบันการเงินทุกที่ ต้องอ่านและเข้าใจในเงื่อนไขให้ดีเสมอ อย่าประมาท เพราะท่านจะโดนเงื่อนไขที่บอกว่า  " ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า"  หรือ  เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด  หรือแม้แต่ข้อความที่ระบุให้ผู้ลงนาม ยินยอมรับรู้ และให้ไปเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญานั้นทุกประการ  จงระวังให้ดี !!!!!

bottom of page